ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมระบบสมองกลฝังตัว
Bachelor of Engineering Program in Embedded Systems Engineering
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อปริญญาภาษาไทย: วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมระบบสมองกลฝังตัว)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ: Bachelor of Engineering (Embedded Systems Engineering)
อักษรย่อภาษาไทย: วศ.บ. (วิศวกรรมระบบสมองกลฝังตัว)
อักษรย่อภาษาอังกฤษ: B.Eng. (Embedded Systems Engineering)
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 129 หน่วยกิต
รูปแบบของหลักสูตร
หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี
การรับเข้าศึกษา
รับทั้งนิสิตไทยและนิสิตต่างชาติที่มีทักษะการใช้ภาษาไทยอยู่ในเกณฑ์ที่ดี
สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
- หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562 เปิดสอนภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2562 ปรับปรุงจากหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมระบบสมองกลฝังตัว (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2557
- สภาวิชาการให้ความเห็นชอบหลักสูตรในการประชุม ครั้งที่ …12/2561………วันที่…18…เดือน…ธันวาคม…พ.ศ.…2561……
- สภามหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบหลักสูตรในการประชุม ครั้งที่ ……1/2562……วันที่….22….เดือน…มกราคม…พ.ศ.…2562.….
ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
หลักสูตรมีความพร้อมในการเผยแพร่คุณภาพและมาตรฐานตามมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ในปีการศึกษา 2564
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังจากสำเร็จการศึกษา
- วิศวกร
- นักวิจัย
- นักประดิษฐ์
- ผู้ประกอบการ
- ครู อาจารย์ในสถาบันการศึกษาทางด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรนี้มุ่งสร้างบัณฑิตทางสาขาวิชาระบบสมองกลฝังตัวที่มีความรู้และทักษะด้านวิชาชีพในระดับปฏิบัติงานได้จริง เพื่อสามารถปฏิบัติงานทั้งในและต่างประเทศ
ความสำคัญของหลักสูตร
ปัจจุบันเทคโนโลยีระบบสมองกลฝังตัว (Embedded Systems) เป็นส่วนหนึ่งของการใช้ ชีวิตประจำวัน เป็นเทคโนโลยีที่แวดล้อมอยู่รอบตัวเรา อาจอยู่ในลักษณะที่แฝงไว้ในอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงยานพาหนะสมัยใหม่ที่ใช้ระบบสมองกลฝังตัวช่วยควบคุมการ ทำงาน และจะทวีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ ตามความต้องการของผู้ใช้งาน ดังนั้น การพัฒนาอุปกรณ์ และ เครื่องมือเครื่องใช้บนเทคโนโลยีระบบสมองกลฝังตัวจึงมีความสำคัญและจำเป็นเร่งด่วน เพื่อให้ทันต่อการ เติบโตของผู้บริโภคและความต้องการของภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะสาหรับประเทศไทยที่มุ่งเป้าสู่ Thailand 4.0 หลักสูตรนี้มีจึงมีความสอดคล้องกับการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมไทยจากการรับจ้าง ผลิตไปยังการออกแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนของประเทศ โดยหลักสูตร มุ่งเน้นการพัฒนาบัณฑิตร่วมกับภาคอุตสาหกรรมอย่างจริงจังเพื่อให้บัณฑิตที่จบมีทักษะและคุณลักษณะ ตามความต้องการของอุตสาหกรรม และยังสอดรับกับแผนพัฒนาของประเทศในการพัฒนาไปสู่Thailand 4.0 ซึ่งต้องใช้บุคลากรด้านระบบสมองกลฝังตัวในการทาระบบอัจฉริยะต่าง ๆ
ผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวังของหลักสูตร (Expected Learning Outcomes, ELOs)
เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว บัณฑิต จะมีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ความสามารถ และทักษะ ดังนี้
1) ตระหนักถึงความสำคัญของจริยธรรมและปฏิบัติตามจริยธรรมและความรับผิดชอบในวิชาชีพได้
2) สามารถประยุกต์คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และความรู้ทางวิศวกรรมในการออกแบบระบบสมอง กลฝังตัวได้
3) สามารถวิเคราะห์ปัญหา ข้อจากัดต่างๆ และเพื่อนามาออกแบบระบบสมองกลฝังตัว
4) มีทักษะด้านการทางานเป็นทีม และการสื่อสารระหว่างผู้ร่วมงานทั้งในสาขาวิชาและต่างสาขาวิชา ด้วยภาษาไทยและอังกฤษได้อย่างเหมาะสม
5) มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีด้านสารสนเทศในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมและประเมินความถูกต้อง และคุณค่าของข้อมูลข่าวสารนั้นๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
6) สามารถใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมในการออกแบบระบบสมองกลฝังตัวได้
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 129 หน่วยกิต
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
1.1 กลุ่มวิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร 12 หน่วยกิต
1.2 กลุ่มวิชาอัตลักษณ์และคุณภาพชีวิตบัณฑิตบูรพา 4 หน่วยกิต
1.3 กลุ่มวิชาทักษะชวิตและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม 4 หน่วยกิต
1.4 กลุ่มวิชานวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ 4 หน่วยกิต
1.5 วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 6 หน่วยกิต
2) หมวดวิชาพื้นฐาน 36 หน่วยกิต
2.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 12 หน่วยกิต
2.2 กลุ่มวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ 24 หน่วยกิต
3) หมวดวิชาเฉพาะด้าน ไม่น้อยกว่า 57 หน่วยกิต
3.1 กลุ่มวิชาเฉพาะบังคับ 36 หน่วยกิต
3.2 กลุ่มวิชาเฉพาะเลือก ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
3.3 ฝึกงานภาคฤดูร้อนและสหกิจศึกษา 9 หน่วยกิต
4) หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต